
8 วิธี แก้ปัญหาลูกดื้อ
เมื่อลูกดื้อ บ่อยครั้งที่พ่อแม่ต้องปวดหัวและเครียด เพราะไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร หลายครอบครัวจึงลงเอยด้วยการตามใจลูกเพื่อ จะเอาอะไรก็ให้ทุกอย่างเพราะไม่อยากให้ลูกดื้อ หรือ ก้าวร้าว บางครอบครัวเคร่งครัดในการเลี้ยงลูกโดยการบังคับ และลงโทษเด็กทุกครั้งที่เกิดอาการดื้อ ส่วนมากวิธีการที่ว่านี้เป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุซึ่งยากที่จะเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง แต่สิ่งที่พ่อแม่ควรปฏิบัติเพื่อแก้ไขและป้องกันไม่ให้ลูกดื้อ คือ การเริ่มต้นจากการขัดเกลาจิตใจของพ่อแม่ก่อน คือ
1. ยอมรับธรรมชาติของเด็กแต่ละวัย เข้าใจและสอนอย่างถูกต้อง
2. ไม่เอาชนะเด็กตรงๆ ควรมีเทคนิคชักจูง ให้เด็กอยากทำ การบอกซ้ำๆ หรือคะยั้นคะยอ จะเร้าอารมณ์ทำให้เด็กต่อต้าน ผู้ใหญ่ไม่ควรคาดหวังให้เด็กทำตามทันที
ควรให้เวลาและโอกาสด้วย
3. หลีกเลี่ยงการต่อล้อต่อเถียงที่จะนำไปสู่การทะเลาะวิวาท จนเกิดเหตุรุนแรง และลงเอยด้วยการทำโทษเด็ก การกระทำแบบนี้จะนำไปสู่ความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกัน
เป็นเหตุสำคัญของการดื้อต่อต้าน
4. ผู้ใหญ่ควรมีท่าทีจริงจัง ผู้ใหญ่ทำให้เด็กดื้อโดยไม่รู้ตัวอยู่บ่อยๆ เช่น เมื่อสั่งแล้วเด็กไม่ทำผู้ใหญ่ทำให้เอง เด็กจะกลายเป็นคนเพิกเฉย ไม่ใส่ใจคำพูด ของผู้ใหญ่
5. ไม่พูดถึงเด็กในทางลบบ่อยๆเด็กจะรู้สึกเป็นจริงตามที่ผู้ใหญ่พูด เช่น “เขาเป็นเด็กดื้อ ไม่ฟังใคร” แต่ควรส่งเสริมให้เด็กเห็นข้อดีด้านบวก ในตนเอง
เช่น “เขาเป็นเด็กดีมีน้ำใจ” “ชอบช่วยงานบ้าน”
6. สร้างสัมพันธภาพและความเข้าใจอันดี อยู่เสมอ การที่เด็กรู้ว่า มีคนรู้และเข้าใจเขา เด็กจะรู้สึกมั่นคงได้รับความรักตอบสนอง ทำให้เคารพและเชื่อฟัง
7. การจะให้เด็กร่วมมือในการกระทำสิ่งใดๆ เราต้องให้เขารู้ว่า เราร่วมมือกับเขาด้วย อย่าขัดเด็กพร่ำเพรื่อ ให้ความรู้สึกเห็นดีเห็นงาม และตกลงไปกับเขาบ้าง
เหตุผลต่างๆที่ให้กับเด็กควรให้ด้วยหลักการ ที่เป็นไปได้และด้วยความรู้สึกที่เป็นมิตรกับเขาเสมอ
8. เหนือสิ่งอื่นใด การแสดงความรักและการให้เวลากับลูกของพ่อแม่เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะลูกจะรู้สึกไม่ขาดสิ่งใดเลย ได้รับความรักและการเอาใจใส่เป็นอย่างดี
จงเป็นทุกอย่างให้กับลูก อีกอย่างคือ การให้อภัยเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเราทุกคนที่เกิดมามีความผิดพลาดอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะเด็ก เพราะเขายังต้องมีประสบการณ์
ในการเรียนรู้ชีวิตอีกมากมาย เพราะฉนั้นความผิดพลาดก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะเป็นตัวสอนเขาในการเติบโตเป็นผู้ใหญ่
ฉะนั้นจงเลี้ยงลูกด้วยความเข้าใจ
โดย อะฮ์ลุลบัยต์คิดส์